วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสําหรับโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดสุโขทัย

 การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสําหรับโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดสุโขทัย

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสุโขทัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสุโขทัย เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นเครื่องมือทดลอง ได้แก่ รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสุโขทัยประกอบด้วย หลักการหรือคำนิยาม จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบความเข้าใจชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 ท่าน ครูผู้สอนจำนวน 18 ท่านของโรงเรียนบ้านดงเดือยและโรงเรียนบ้านดอนสำโรงตำบลดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยคัดเลือกด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test Independent) ผลการศึกษาการใช้รูปแบบฯ ตามตัวชี้วัดที่ 1 การทดสอบความรู้เกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของบุคคลากรโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.15 (S.D.=.89) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนของบุคลากรก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า คะแนนหลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวชี้วัดที่ 2 การประเมินวงจรชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า วงจรชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในมิติภาวะผู้นำร่วมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 มิติการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 มิติการมีวิสัยทัศน์ร่วมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 มิติการทำงานเป็นทีมแบบร่วมแรงร่วมใจและมิติสภาพแวดล้อมเชิงบวกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่ 3 การประเมินการสร้างวัฒนธรรมแห่งกัลยาณมิตร พบว่า วัฒนธรรมแห่งกัลยาณมิตรในมิติการสนับสนุนจากผู้นำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 มิติการชอบในการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 มิติความไว้วางใจและความนับถือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 มิติกัลยาณมิตรทางวิชาการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 ตามลำดับ
สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดสุโขทัยมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการได้แก่ หลักการและแนวคิด จุดมุ่งหมาย วงจรชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ขั้นตอนและกิจกรรม และการสะท้อนผลหรือข้อมูลย้อนกลับ มีตัวชี้วัดคุณภาพของรูปแบบ 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของบุคลากร วงจรชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5 มิติ และวัฒนธรรมแห่งกัลยาณมิตร 4 มิติ ถือเป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพ มีมาตรฐานวิชาชีพและมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีการปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับบริบทความต้องการของท้องถิ่น เกิดความตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง ริเริ่มการประยุกต์ใช้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นเครื่องมือในการยกระดับศักยภาพการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

รายการอ้างอิง

สุรีย์พร เพ็งเลีย ดอร์ดูนู ภาวิดา มหาวงศ์ (2563) การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสําหรับโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดสุโขทัย : วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน, หน้า 1.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

QR Code Spatial Metaverse