วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เกณฑ์การออกแบบและปรับปรุงอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียว

 เกณฑ์การออกแบบและปรับปรุงอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียว

บทคัดย่อ

                กรมโยธาธิการและผังเมืองต้องการขยายบทบาทของภาครัฐต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและระบบนิเวศ ที่มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาคอาคาร ด้วยการยกระดับการออกแบบอาคารภาครัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นอาคารเขียว จึงได้จัดท าเกณฑ์ส าหรับออกแบบอาคารภาครัฐที่จะก่อสร้างใหม่ และเกณฑ์ส าหรับการปรับปรุงอาคารภาครัฐที่มีอยู่เดิมให้เป็นอาคารเขียว โดยการศึกษาทบทวนเกณฑ์อาคารเขียวที่มีการใช้ในประเทศและต่างประเทศ แล้วสังเคราะห์เกณฑ์การออกแบบอาคารเขียวขึ้นมาใหม่ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของภาครัฐ และน าแบบก่อสร้างของอาคารที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ขนาดใหญ่พิเศษจ านวน 1 หลัง และอาคารส านักงานขนาดใหญ่พิเศษ 1 หลัง ซึ่งอยู่ระหว่างการใช้งานมาท าการศึกษา โดยการส ารวจสถานที่จริง รวบรวมประเด็นที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้สามารถเป็นอาคารเขียว รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและความคุ้มค่า ซึ่งพบว่าอาคารที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์สามารถผ่านเกณฑ์บังคับได้เช่นเดียวกับอาคารทั่วไป แต่จะมีข้อจ ากัดในเกณฑ์เลือกท าบางข้อ จากการใช้หลังคาทรงจั่วที่สูงชันแบบไทยประเพณี เช่น การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้า หรือการออกแบบรองรับการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในอนาคตเมื่อราคาลดลง การรวบรวมน้ าฝนจากหลังคา การลดปรากฏการณ์ความร้อนจากหลังคา นอกจากนี้การออกแบบทั้งอาคารใหม่และอาคารเดิม ต้องให้ความส าคัญกับการระบายอากาศขั้นต่ าในอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะอาคารที่มีลักษณะไทยประยุกต์ จะต้องค านึงถึงการเจาะช่องเปิดเพื่อน าอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่อาคารและระบายออกจากอาคาร โดยผ่านผนังหรือหลังคาได้อย่างกลมกลืน เกณฑ์ส าหรับการออกแบบอาคารก่อสร้างใหม่มี 72 ข้อ เป็นเกณฑ์บังคับ 32 ข้อ และเกณฑ์เลือกท า 40 ข้อ ซึ่งรวมตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกที่ตั้ง การบริหารโครงการ การออกแบบ การก่อสร้าง และการใช้งานและบ ารุงรักษาอาคาร ส่วนเกณฑ์ส าหรับการออกแบบอาคารปรับปรุงมีทั้งหมด 68 ข้อ เป็นเกณฑ์บังคับ 26 ข้อและเกณฑ์เลือกท า 42 ข้อ อาคารเขียวที่สามารถผ่านเกณฑ์บังคับได้ทุกข้อจะถือว่าเป็นอาคารเขียวมาตรฐาน และถ้าสามารถผ่านเกณฑ์เลือกท ามากกว่าครึ่งหนึ่งของเกณฑ์เลือกท าทั้งหมดจะถือว่าเป็นอาคารเขียวขั้นสูงในด้านราคาพบว่าการท าอาคารเขียวมาตรฐาน จะมีราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 2% ส าหรับอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ และประมาณ 4% ส าหรับอาคารเดิมที่ต้องการปรับปรุง และถ้าท าอาคารเขียวขั้นสูงจะต้องเพิ่มค่าก่อสร้างประมาณ 8% ส าหรับอาคารใหม่ และประมาณ 7% ส าหรับอาคารปรับปรุง แต่ว่าถ้าพิจารณาในด้านความคุ้มค่าระหว่างเงินลงทุนและผลประหยัดค่าสาธารณูปโภคแล้ว อาคารเขียวมาตรฐานจะคุ้มค่ากว่า กรมโยธา-ธิการและผังเมืองได้เผยแพร่เกณฑ์การออกแบบอาคารเขียวภาครัฐทั้งหมดให้หน่วยงานรัฐและเอกชนที่สนใจทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบอาคารเขียว ในรูป e-books โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

รายการอ้างอิง

พันธุดา พุฒิไพโรจน์ และคณะ (2563) เกณฑ์การออกแบบและปรับปรุงอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียว : หน้าจั่ว ฉบับที่ 17 หน้า 1-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

QR Code Spatial Metaverse