วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 8

 Title

การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 8
A Study of Academic Administration in Secondary Schools under the Jurisdiction of the Office of the Private Education Commission Educational Region 8

Classification :.DDC: 373.12072 อ35ก
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 8 และ 2 ) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของกลุ่มผู้รับผิดชอบการบริหารงานวิชาการ (ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา) และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่มีต่อการบริหารงาน วิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 8 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหาร จำนวน 48 คน ครูผู้สอนจำนวน 172 คนและ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 48 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan โดยสุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 268 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 8 แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน 6 ด้าน คือ การวางแผนงานวิชาการ การบริหารหลักสูตรการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดสื่อการเรียนการสอน การนิเทศงานวิชาการ การวัดผลและการประเมินผลการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่า ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจากกลุ่มตัวอย่างใช้ TWO-WAY ANOVA ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารงานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเขตการศึกษา 8 พบว่า 1. ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ต่อการบริหารงานวิชาการ ทั้งในภาพรวม และรายด้านทั้ง 6 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านการนิเทศงานวิชาการ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการวัดผลและการประเมินผลการเรียน ด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน และด้านการบริหารหลักสูตร 2. ผู้บริหารและครูผู้สอน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 6 ด้าน ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3 ด้าน คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การนิเทศงานวิชาการ และการวัดผลและการประเมินผล ส่วนครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียง 1 ด้าน คือ การจัดสื่อการเรียนการสอน ส่วนระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับผิดชอบการบริหารวิชาการและระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่มี อิทธิพลต่อความคิดเห็นในการบริหารงานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเขตการศึกษา 8
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์
Address: อุตรดิตถ์
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2546
Modified: 2549-08-08
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 974-9642-00-7
CallNumber: ป-อต. 373.12072 อ35ก
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

QR Code Spatial Metaverse